วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

พระมหาชนกกับโพธิวิชชาลัย



 พระมหาชนกกับโพธิวิชชาลัย
โพธิวิชชาลัย อาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานของการจัดการศึกษาให้แก่ท้องถิ่นและเป็นการปฎิรูปการศึกษาของสังคมไทยให้เท่าทันต่อโลก คำว่า “โพธิวิชชาลัย” นี้มาจากหนังสือพระมหาชนก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
            การจัดการศึกษาในปัจจุบันของสังคมไทยมุ่งเน้นให้นิสิต นักศึกษา นักเรียน เรียนแต่ในภาคทฤษฏี เรียนแต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับพวกเขา เมื่อจบการศึกษาแล้วไม่สามารถทำงานได้จริงกับสายงานที่ได้เรียนมาระบบการศึกษาสมัยนี้มุ่งไปที่จะผลิตบัณฑิตให้กับระบบทุนนิยม ทำให้ผู้เรียนมีการแก่งแย่งงาน ชิงดีชิงเด่นกันที่จะได้ทำงานที่มีค่าตอบแทนมาก สะดวกสบาย การก่อเกิดโพธิวิชชาลัยในครั้งนี้เป็นการจัดการศึกษาที่ตรงกันข้ามกับระบบการศึกษาในปัจจุบันที่มุ่งผลิตบัณฑิตเข้าสู่ระบบทุนนิยม แต่โพธิวิชชาลัยมุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โพธวิชาลัยได้เอาคำของ โพธิยาลัยในพระราชนิพนธ์ พระมหาชก มาปรับเป็นโพธิวิชชาลัย เพื่อจะเห็นความแตกต่างระหว่างคำว่า วิทยาลัย ซึ่งเป็นตัววัตถุ เป็นสถานที่ แต่วิชชาลัยนั้น เป็นตัวความรู้ เป็นตัวจริยธรรม เป็นตัวคุณธรรม โพธิวิชชาลัยได้ถอดบทเรียนจากเรื่องพระมหาชนกมาเป็นบทเรียนในการจัดตั้งวิทยาลัยขึ้นโดยเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สามารถใช้ได้จริงกับชุมชน ไม่ลืมภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนและสอนให้นิสิตมีคุณธรรมจริยธรรมในการประกอบอาชีพและในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติ เท่าทันต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปที่หลงลืมวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตน ในเรื่องพระมหาชนกได้สะท้อนให้เห็นถึงผู้คนในสมัยนั้นที่ชอบการประจบประแจงเจ้านายเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจหน้าที่การงานที่ดีต่อมาก็ได้เจอกับความพินาศเพราะความที่หูเบาเชื่อคนง่าย ซึ่งตรงกับคนในสมัยนี้ ส่วนพระมหาชนกได้แสดงถึงความพยายามที่จะว่ายน้ำเข้าฝั่ง มีความอดทนอดกั้นต่อความยากลำบาก มุ่งมานะที่จะแสวงหาความรู้ และแสดงออกอีกอย่างหนึ่งว่าการที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆต้องไม่ใช้กำลังแต่ต้องใช้ความรู้ สติปัญญาจึงจะได้ผลจะช้าหรือเร็วนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล
            นิสิตโพธิวิชชาลัยต้องมีความรู้คู่คุณธรรมเพื่อที่จะได้กลับไปพัฒนาชุมชนของตนอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและมีจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ ชุมชนสังคมจะได้อยู่ดี กินดี โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งใคร เกิดเป็นคนควรจะมีความพยายามจนกว่าจะประสบความสำเร็จตามเจตนารมณ์ของตนที่ตั้งไว้
นางสาวสงกรานต์  หทัยภัสสร รหัสนิสิต 54147010093 สาขาการจัดการภูมิวัฒนธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น