วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แคดเมียม



แคดเมียม : ชะตากรรมและทางเลือก
            ที่ชายขอบฝั่งตะวันตกของแผ่นดินไทย กลุ่มคนเล็กๆที่ไร้ความสำคัญในโลกทุนนิยมกำลังทนทุกข์กับโรคร้ายที่กัดกินทั้งชีวิตและจิตวิญญาณ ชุมชนที่สืบทอดกันยาวนานกำลังจะล่มสลายพวกเขาต้องรับบาปที่ไม่ได้ก่อ ต้องทนอยู่อย่างจำยอมเพราะไร้ทางเลือก เสียงร้องหาความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจ กลายเป็นเสียงร้องที่ไม่มีใครได้ยิน
            แคดเมียมเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเริ่มตั่งแต่ปี พ.ศ.2541 มีสารปนเปื้อนในนาข้าว ในพื้นที่ลุ่มน้ำ(พิมพ์เพ็ญ และ นิธิยา,2550) ได้ให้ความหมายของสารแคดเมียมไว้ว่า “แคดเมียมเป็นโลหะหนัก(heavy metal)ซึ่งสามารถปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อมและตกค้างในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร(food hazard)ประเภทอันตรายทางเคมี(chemical hazard)” แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่มีสีสันสวยงาม สีเงินแกมขาวและดัดขึ้นรูปได้ง่ายทนต่อการกัดกร่อน และมีจุดหลอมเหลวจุดเดือดที่สูง จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลายประเภทอาทิเช่น โรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องบิน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ  (สุรีย์,2549) ปัจจุบันในประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนของสารพิษที่เป็นอันตรายกับชีวิตอยู่หลายพื้นที่เช่น ลำห้วยคลิตี้ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสาเหตุของสารตะกั่วที่ปนเปื้อนของในลำห้วยนั้นมาจากที่ใด นอกจากนี้ที่ห้วยคลิตี้แล้วยังพบว่ายังมีพื้นที่อื่นอีกที่เกิดปัญหาคล้ายๆกันคือที่ลำห้วยแม่ตาว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม จากกรณีของหมู่บ้านพะเด๊ะ ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณแหล่งแร่สังกะสี พบว่ามีปริมาณสารแคดเมียมในดินสูงกว่าค่ามาตราฐานของสหภาพยุโรป (EU) และพบว่าร้อยละ 95 ของข้าวที่สุ่มตรวจ มีปริมาณแคดเมียมอยู่ในช่วงเดียวกับข้าวที่ก่อให้เกิดโรคอิไต-อิไต ในประเทศญี่ปุ่น หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ชาวบ้านต้องเจอสภาพการสะสมของสารแคดเมียมในพื้นที่ทำกินและในผลิตผลการเกษตรมากที่สุดนั้น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา ปลูกพืชในที่ลุ่มและบนดอย โดยมีการปลูกข้าวปีละ 1 ครั้งและข้าวที่ได้จากการทำนา เป็นข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงและเคยได้รับรางวัลระดับประเทศว่าเป็นข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศด้วย เมื่อต้นข้าวดูดซับสารแคดเมียมและชาวบ้านกินข้าวที่มีสารพิษเข้าไป สารพิษแคดเมียมก็จะเข้าไปสะสมในร่างกายโดยไม่รู้ตัว จะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีอาการที่สะสมมานานหลายสิบปี อาการเรื้อรังของพิษจากแคดเมียม มีอาการเจ็บหัวเข่าและปวดตามกระดูกทั่งร่างกายและมีรายงานการเกิดมะเร็งในไต ตับ ปอด อัณฑะ และต่อมลูกหมากจากพิษของสารแคดเมียม (ดวงรัตน์,2553) ได้กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีการบําบัดโดยใช้พืช(phyto-remediation)หมายถึงกระบวนการการใช้พืชเพื่อกําจัดความเป็นพิษของสารมลพิษที่ปนเปื้อนและตกค้างในสิ่งแวดล้อมซึ่งกลไกของพืชในการกําจัดสารมลพิษที่ปนเปื้อนอาจเกิดโดยวิธีทางตรงได้แก่การย่อยสลายสารมลพิษนั้นๆในต้นพืชหรือโดยวิธีอ้อมได้แก่การดูดซึมการดูดซับการสะสมการลดความเป็นพิษหรือการตรึงโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน น้ำ และอากาศโดยกระบวนการทางกายภาพทางเคมีหรือทางชีวภาพเทคโนโลยีการบําบัดโดยใช้พืชเป็นทางเลือกที่อาศัยความสามารถของพืชที่ทนโลหะหนักและสามารถสะสมโลหะหนักได้ในปริมาณสูงโดยพืชมีวิวัฒนาการและมีการปรับตัวให้สามารถทนทานต่อดินและน้ำที่มีโลหะหนักได้(EPA,
1990,1990,1995)ที่ใช้วิธีการกําจัดทางชีวภาพเทคโนโลยีการบําบัดโลหะหนักโดยใช้พืชในการฟื้นฟูแหล่งดินและน้ำที่ปนเปื้อนมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ สามารถนําไปใช้ในพื้นที่มีการปนเปื้อนในบริเวณกว้างได้มีค่าใช้จ่ายน้อยเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดปลอดภัยจึงจัดว่าเป็นการบําบัดที่มีความเสี่ยงต่ำและก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่างๆน้อยกว่าวิธีอื่นๆการปลูกพืชทําให้บริเวณที่ปนเปื้อนมีความสวยงามขึ้นและพืชเหล่านั้นอาจเป็นพืชเศรษฐกิจและการปลูกพืชจะช่วยฟื้นฟูสภาพดินช่วยลดการชะล้างหรือพังทลายของดินอีกด้วยเทคโนโลยีการบําบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยพืชมีหลายวิธีได้แก่Phytoextractionได้แก่การใช้พืชในการดูดซับและสะสมโลหะหนักโดยมีการลําเลียงโลหะหนักจากดินและรากไปสู่ส่วนลําต้นและใบซึ่งสะสมโลหะหนักได้ในปริมาณสูงส่วนเหนือดินคือลําต้นและใบสามารถตัดออกได้โดยไม่ต้องปลูกต้นใหม่ตัวอย่างของพืชที่สามารถนําไปใช้ได้แก่พืชวงศ์ผักกาด(Brassicaceae)เช่นBrassica, Thlaspi, Alyssum, Pelargoniumเป็นต้น เมื่อพืชเจริญเต็มที่ก็จะตัดส่วนต้นและใบที่สะสมโลหะหนักเหลือไว้แต่รากที่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้โลหะหนักจะถูกดึงออกจากดินมาสะสมในส่วนต้นและใบของพืชซึ่งก็ยังเป็นปัญหาในการกําจัดเหมือนกันการกําจัดมักจะนําไปเผาด้วยไฟสูงมาก(incineration)เพื่อให้มวลชีวภาพลดลงอย่างมากมายง่ายต่อการกําจัดโดยการฝังกลบอีกทีหนึ่งเทคโนโลยีไฟโตเอคสเตรคชั่นจะใช้เวลานานในการกําจัดโลหะหนัก ต้องปลูกพืชหลายๆครั้งเพื่อลดปริมาณโลหะหนักในดิน ให้เหลือเท่ากับมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ไม่เป็นพิษต่อคนหรือสัตว์เวลาที่ใช้ในการกำจัดโลหะหนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ชนิดและปริมาณของโลหะหนักที่ปนเปื้อน อัตราการเติบโตของพืช วงจรชีวิตของพืชประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนักของพืชอาจใช้เวลา1-20 ปีเทคโนโลยีนี้เหมาะกับบริเวณที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักที่ผิวดิน
            สังคมไทยเรา มีบทเรียนมากมายที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตความเจ็บปวดของชาวบ้านในที่ต่างๆแต่บทเรียนเหล่านั้นไม่เคยถูกนำมาเป็นคติเตือนใจและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงการพัฒนาในด้านต่างๆเรื่องราวที่ไม่สามารถลืมเลือนได้ของชาวบ้านลุ่มน้ำแม่ตาว ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่ดูเหมือนความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของชาวบ้าน ยังคงไร้ค่าเมื่อเทียบกับการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ หากทางภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
เอกสารอ้างอิง

วรพจน์ สิงหา.  (2550).  น้ำตาที่พะเด๊ะ.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะพระมหาไถ่.

สุรีย์  หน่อโพ.  (2545).  การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกิดจากสารแคดเมียมในพื้นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก.  ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต(การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม).  เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ถ่ายสำเนา.

ดวงรัตน์ อินทร.  (2553).  เทคโนโลยีการบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยใช้พืช.  (จุลสาร).  กรุงเทพฯ:  คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์; และ นิธิยา รัตนปนนท์.  (2553).  Cadmium / แคดเมียม.  สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2556,  จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2121/cadmium-แคดเมียม


วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

อะไรคือแม่สอด01


 อะไรคือแม่สอด01

อะไรคือแม่สอด02

 อะไรคือแม่สอด02: แป(ถั่ว)       แป เป็นคำในภาษาพม่า ซึ่งแปลว่า ถั่ว หากนำถั่วมาคั่ว จะเรียกว่า แปหล่อ ส่วนถั่วทอด จะเรียกว่า แปจ่...

อะไรคือแม่สอด02



แป(ถั่ว)
 





    แป เป็นคำในภาษาพม่า ซึ่งแปลว่า ถั่ว หากนำถั่วมาคั่ว จะเรียกว่า แปหล่อ ส่วนถั่วทอด จะเรียกว่า แปจ่อ เนื่องจากอำเภอแม่สอดมีพรมแดนติดต่อกับประเทศพม่า ทำให้วัฒนธรรมการกินถั่วเริ่มแพร่หลาย ถั่วเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีดินร่วนซุย สภาพอากาศเอื้ออำนวยและเหมาะสม ส่วนใหญ่จะนิยมปลูกในภาคเหนือ ถึงอย่างไรถั่วที่ปลูกในท้องถิ่นเดิมที่พม่าก็ยังต้องพึ่งตลาดแปรรูปและจำหน่ายที่ฝั่งไทยเป็นหลัก

  ถั่วเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง มีไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูงในปริมาณร้อยละ 80 ของพลังงานทั้งหมด ไขมันในถั่วเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เช่น linolenic และlinolenic acid ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบการเจริญเติบโต ผิวหนัง ผม การควบคุมความดันโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบการแข็งตัวของเลือด



   จากการที่ได้ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้ไปศึกษาเรื่องแปจ่อ ที่ร้านป้าภา พรรณี ตะมะจันทร์ สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่ 9 ถนนประสาทวิถี อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อยู่เยื้องห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญโรจน์ทีวี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน ทำมาได้ 3 ช่วงอายุคน ป้าภาเป็นรุ่นที่ 3 แล้ว สืบทอดมาจากแม่ของป้าภาเอง จนกลายเป็นของพื้นเมืองอำเภอแม่สอด จะกล่าวได้ว่า “เจ้าเก่า” เลยที่เดียวที่เป็นคนคั่วถั่วขายในพื้นที่อำเภอแม่สอด ถั่วส่วนใหญ่รับมาจากประเทศพม่าและในฝั่งไทยเองที่อำเภอพบพระ เคล็ดลับในการทำให้ถั่วอร่อยคือ ต้องใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดถั่วจนถึงการคั่วเมล็ดถั่ว เปลี่ยนน้ำมันตลอดไม่ใช้น้ำมันซ้ำ ใช้ไฟอุณหภูมิพอเหมาะ จุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าประทับใจคือมีอัธยาศัยดีกับลูกค้าทุกคนจึงทำให้เป็นที่รู้จัก ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นคนในแม่สอดที่มาซื้อ มีทั้งขายปลีก-ขายส่งให้กับร้านค้าต่างๆ จะขอยกตัวอย่างการคั่วถั่วหนึ่งชนิดคือ แปจี ถ้านำมาคั่วจะเรียกว่าแปหล่อ



วิธีการทำแปหล่อ
1.คัดเลือกเมล็ดแปจีแห้งที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์โดยใช้กระด้งในการคัดเลือก
2.แช่น้ำ 1 คืน
3.ตากเมล็ดแปจีไว้ครึ่งวัน (แดดจ้า)
4.คลุกน้ำขมิ้น
5.ผึงลมไว้ในที่ร่มทิ้งไว้ 1 วัน
6.นำไปคั่วโดยใช้ไฟในอุณหภูมิที่พอเหมาะ(ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง)

รายการสินค้าร้านป้าภา
แปหล่อ             ก.ก.     80        บาท
แปจ่อขาว          ก.ก.     120      บาท
แปจ่อขาวเขียว    ก.ก.     -           บาท (สินค้าหมด)
แปจ่อเขียว         ก.ก.     500      บาท
แปทอด             ก.ก.     100      บาท
ถั่วปากอ้า           ก.ก.      90        บาท
ถั่วลันเตา           ก.ก.      80        บาท
ถั่วสีทอง            ก.ก.      100      บาท
เมล็ดทานตะวัน              ก.ก.      90        บาท
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์     ก.ก.      380      บาท
ถั่วลิสงคั่ว          ก.ก.      75        บาท
ถั่วลิสงทอด        ก.ก.      80        บาท
ไส้เมี่ยง              ก.ก.      25        บาท

            วัฒนธรรมการบริโภคถั่วของคนในอำเภอแม่สอด เป็นการยิบยืม Borrowing วัฒนธรรมจากประเทศพม่าจนทุกวันนี้กลายเป็นของพื้นเมืองและของขึ้นชื่อของอำเภอแม่สอดไปแล้ว