แคดเมียม : ชะตากรรมและทางเลือก
ที่ชายขอบฝั่งตะวันตกของแผ่นดินไทย
กลุ่มคนเล็กๆที่ไร้ความสำคัญในโลกทุนนิยมกำลังทนทุกข์กับโรคร้ายที่กัดกินทั้งชีวิตและจิตวิญญาณ
ชุมชนที่สืบทอดกันยาวนานกำลังจะล่มสลายพวกเขาต้องรับบาปที่ไม่ได้ก่อ ต้องทนอยู่อย่างจำยอมเพราะไร้ทางเลือก
เสียงร้องหาความยุติธรรมและความเห็นอกเห็นใจ กลายเป็นเสียงร้องที่ไม่มีใครได้ยิน
แคดเมียมเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเริ่มตั่งแต่ปี
พ.ศ.2541 มีสารปนเปื้อนในนาข้าว
ในพื้นที่ลุ่มน้ำ(พิมพ์เพ็ญ และ นิธิยา,2550)
ได้ให้ความหมายของสารแคดเมียมไว้ว่า “แคดเมียมเป็นโลหะหนัก(heavy metal)ซึ่งสามารถปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อมและตกค้างในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร(food
hazard)ประเภทอันตรายทางเคมี(chemical hazard)”
แคดเมียมเป็นโลหะหนักที่มีสีสันสวยงาม สีเงินแกมขาวและดัดขึ้นรูปได้ง่ายทนต่อการกัดกร่อน
และมีจุดหลอมเหลวจุดเดือดที่สูง จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมหลายประเภทอาทิเช่น
โรงงานอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องบิน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ (สุรีย์,2549) ปัจจุบันในประเทศไทยมีแหล่งน้ำที่ปนเปื้อนของสารพิษที่เป็นอันตรายกับชีวิตอยู่หลายพื้นที่เช่น
ลำห้วยคลิตี้ ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
จนกระทั่งทุกวันนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าสาเหตุของสารตะกั่วที่ปนเปื้อนของในลำห้วยนั้นมาจากที่ใด
นอกจากนี้ที่ห้วยคลิตี้แล้วยังพบว่ายังมีพื้นที่อื่นอีกที่เกิดปัญหาคล้ายๆกันคือที่ลำห้วยแม่ตาว
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ที่มีการปนเปื้อนของสารแคดเมียม จากกรณีของหมู่บ้านพะเด๊ะ
ตำบลพระธาตุผาแดง อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณแหล่งแร่สังกะสี
พบว่ามีปริมาณสารแคดเมียมในดินสูงกว่าค่ามาตราฐานของสหภาพยุโรป (EU) และพบว่าร้อยละ 95 ของข้าวที่สุ่มตรวจ
มีปริมาณแคดเมียมอยู่ในช่วงเดียวกับข้าวที่ก่อให้เกิดโรคอิไต-อิไต ในประเทศญี่ปุ่น
หากบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ชาวบ้านต้องเจอสภาพการสะสมของสารแคดเมียมในพื้นที่ทำกินและในผลิตผลการเกษตรมากที่สุดนั้น
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำนา ปลูกพืชในที่ลุ่มและบนดอย โดยมีการปลูกข้าวปีละ
1 ครั้งและข้าวที่ได้จากการทำนา
เป็นข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงและเคยได้รับรางวัลระดับประเทศว่าเป็นข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในประเทศด้วย
เมื่อต้นข้าวดูดซับสารแคดเมียมและชาวบ้านกินข้าวที่มีสารพิษเข้าไป
สารพิษแคดเมียมก็จะเข้าไปสะสมในร่างกายโดยไม่รู้ตัว จะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีอาการที่สะสมมานานหลายสิบปี
อาการเรื้อรังของพิษจากแคดเมียม
มีอาการเจ็บหัวเข่าและปวดตามกระดูกทั่งร่างกายและมีรายงานการเกิดมะเร็งในไต ตับ
ปอด อัณฑะ และต่อมลูกหมากจากพิษของสารแคดเมียม (ดวงรัตน์,2553) ได้กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีการบําบัดโดยใช้พืช(phyto-remediation)หมายถึงกระบวนการการใช้พืชเพื่อกําจัดความเป็นพิษของสารมลพิษที่ปนเปื้อนและตกค้างในสิ่งแวดล้อมซึ่งกลไกของพืชในการกําจัดสารมลพิษที่ปนเปื้อนอาจเกิดโดยวิธีทางตรงได้แก่การย่อยสลายสารมลพิษนั้นๆในต้นพืชหรือโดยวิธีอ้อมได้แก่การดูดซึมการดูดซับการสะสมการลดความเป็นพิษหรือการตรึงโลหะหนักที่ปนเปื้อนในดิน
น้ำ และอากาศโดยกระบวนการทางกายภาพทางเคมีหรือทางชีวภาพเทคโนโลยีการบําบัดโดยใช้พืชเป็นทางเลือกที่อาศัยความสามารถของพืชที่ทนโลหะหนักและสามารถสะสมโลหะหนักได้ในปริมาณสูงโดยพืชมีวิวัฒนาการและมีการปรับตัวให้สามารถทนทานต่อดินและน้ำที่มีโลหะหนักได้(EPA,
1990,1990,1995)ที่ใช้วิธีการกําจัดทางชีวภาพเทคโนโลยีการบําบัดโลหะหนักโดยใช้พืชในการฟื้นฟูแหล่งดินและน้ำที่ปนเปื้อนมีข้อดีหลายประการ
ได้แก่ สามารถนําไปใช้ในพื้นที่มีการปนเปื้อนในบริเวณกว้างได้มีค่าใช้จ่ายน้อยเป็นเทคโนโลยีที่สะอาดปลอดภัยจึงจัดว่าเป็นการบําบัดที่มีความเสี่ยงต่ำและก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบต่างๆน้อยกว่าวิธีอื่นๆการปลูกพืชทําให้บริเวณที่ปนเปื้อนมีความสวยงามขึ้นและพืชเหล่านั้นอาจเป็นพืชเศรษฐกิจและการปลูกพืชจะช่วยฟื้นฟูสภาพดินช่วยลดการชะล้างหรือพังทลายของดินอีกด้วยเทคโนโลยีการบําบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยพืชมีหลายวิธีได้แก่Phytoextractionได้แก่การใช้พืชในการดูดซับและสะสมโลหะหนักโดยมีการลําเลียงโลหะหนักจากดินและรากไปสู่ส่วนลําต้นและใบซึ่งสะสมโลหะหนักได้ในปริมาณสูงส่วนเหนือดินคือลําต้นและใบสามารถตัดออกได้โดยไม่ต้องปลูกต้นใหม่ตัวอย่างของพืชที่สามารถนําไปใช้ได้แก่พืชวงศ์ผักกาด(Brassicaceae)เช่นBrassica, Thlaspi, Alyssum, Pelargoniumเป็นต้น
เมื่อพืชเจริญเต็มที่ก็จะตัดส่วนต้นและใบที่สะสมโลหะหนักเหลือไว้แต่รากที่สามารถงอกเป็นต้นใหม่ได้โลหะหนักจะถูกดึงออกจากดินมาสะสมในส่วนต้นและใบของพืชซึ่งก็ยังเป็นปัญหาในการกําจัดเหมือนกันการกําจัดมักจะนําไปเผาด้วยไฟสูงมาก(incineration)เพื่อให้มวลชีวภาพลดลงอย่างมากมายง่ายต่อการกําจัดโดยการฝังกลบอีกทีหนึ่งเทคโนโลยีไฟโตเอคสเตรคชั่นจะใช้เวลานานในการกําจัดโลหะหนัก
ต้องปลูกพืชหลายๆครั้งเพื่อลดปริมาณโลหะหนักในดิน ให้เหลือเท่ากับมาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ไม่เป็นพิษต่อคนหรือสัตว์เวลาที่ใช้ในการกำจัดโลหะหนักขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
เช่น ชนิดและปริมาณของโลหะหนักที่ปนเปื้อน อัตราการเติบโตของพืช วงจรชีวิตของพืชประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนักของพืชอาจใช้เวลา1-20
ปีเทคโนโลยีนี้เหมาะกับบริเวณที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักที่ผิวดิน
สังคมไทยเรา
มีบทเรียนมากมายที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตความเจ็บปวดของชาวบ้านในที่ต่างๆแต่บทเรียนเหล่านั้นไม่เคยถูกนำมาเป็นคติเตือนใจและนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโครงการพัฒนาในด้านต่างๆเรื่องราวที่ไม่สามารถลืมเลือนได้ของชาวบ้านลุ่มน้ำแม่ตาว
ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง
แต่ดูเหมือนความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานของชาวบ้าน
ยังคงไร้ค่าเมื่อเทียบกับการพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจ หากทางภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องยังไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง
เอกสารอ้างอิง
วรพจน์
สิงหา. (2550). น้ำตาที่พะเด๊ะ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะพระมหาไถ่.
สุรีย์
หน่อโพ. (2545). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกิดจากสารแคดเมียมในพื้นที่
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต(การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ถ่ายสำเนา.
ดวงรัตน์ อินทร.
(2553). เทคโนโลยีการบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยใช้พืช. (จุลสาร).
กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุข
มหาวิทยาลัยมหิดล.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น